ข้างชามข้าวมีอะไร: SNC Library Podcast S4 Eps. 138 - a podcast by Sanamchandra Palace Library

from 2023-01-18T19:34:09

:: ::

จากแรงมาเป็นรวง และกว่าที่ข้าว 1 รวงจะแปลงมาสู่คนกินนั้น มีทั้งเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีที่แฝงอยู่ และในวัฒนธรรมการรับประทานข้าวของพี่น้องไทยเชื้อสายจีนนั้น ก็มีหลากเรื่องราวแฝงอยู่ข้างชามข้าวไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่เรามักได้ยินชาวจีนไถ่ถามทักทายกันจนเป็นคำเคยชิน "เจี่ยะ ปึ่ง บ่วย" แปลเป็นไทยได้ว่า "กินข้าวหรือยัง" แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกห่วงใยผ่านสายสัมพันธ์บนเมล็ดข้าวในชาม คำว่า "จ่อสัว" หรือ "เจ้าสัว" ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติว่าคำ ๆ นี้ เพี้ยนจาก "เจ้าขรัว" อันเป็นคำโบราณของไทยหรือไม่ เพราะยังไม่มีหลักฐานพบว่ามีคำนี้ใช้ในประเทศจีน แต่หากจะกล่าวถึงเจ้าสัวชาวจีนแล้ว เจ้าสัวค้าข้าวก็มักเป็นคำเรียกที่เราคุ้นเคย ของพ่อค้าชาวจีนผู้มีฐานะจากการค้าขายข้าว หรือ หากจะกล่าวถึงคำ "ซานเหวยฝานฉวน" ซึ่งแปลว่าสำเภาจีนนั้น ภาพของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบโล้สำเภาฝ่าคลื่นลมมายังสยามประเทศ ก็นับเป็นฉากชีวิตที่เราคุ้นชิน และสำเภาจีนนั้นในอดีตก็นับเป็นพาหนะสำคัญด้านการค้า ที่เจ้าสัวหลายตระกูลในเมืองไทยต่างเติบโตแรกเริ่มจากธุรกิจค้าข้าว และคำแห่งยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนบทบาทจากสถานที่พักเก็บสินค้า จุดแปรรูปและส่งต่อสินค้าไปยังแหล่งค้าขาย กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบันเทิงในยุคปัจจุบันอย่าง "ล้ง" หรือ โกดังสินค้า ที่ในอดีตริมฝั่งเจ้าพระยาแห่งเมืองบางกอก ทั้งสองฝากแม่น้ำล้วนเรียงรายไปด้วยล้งตลอดแนวลำน้ำ ที่มีผู้คนหลากชีวิตต่างฐานะมาอยู่รวมกัน ตั้งแต่จับกังผู้ใช้แรงงานแบกข้าวสารขึ้นลงเรือสินค้าลำแล้วลำเล่า ไปจนถึงเถ้าแก่โรงสี เจ้าสัวค้าข้าว สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ได้อยู่โดยตรงในชามข้าว ก็ล้วนแล้วแต่แฝงเรื่องราวเกี่ยวพันกับ "ข้าว" ซึ่งแม้จีนกับไทยจะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนกัน แต่ในความเหมือนนั้นก็ยังมีความต่าง และสิ่งหนึ่งที่เห็นเด่นชัด คือ อุปกรณ์ในการรับประทานข้าว ที่เมื่อพ้นผ่านยุคสมัยเปิบข้าวด้วยมือ คนไทยก็หันมาใช้ช้อนตามอย่างชาวตะวันตก ขณะที่ชาวจีนมีอาวุธคู่ชามข้าว คือ ตะเกียบ อันทรงพลังในความเป็นคู่แห่งหยินและหยาง อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วยเรื่องราวอันน่าสนใจภายใต้ไม้ยาวทั้งสองนี้ ชวนมาติดตามกันค่ะ


ขอบคุณข้อมูล

- คำจีนในชามข้าว

โดย www.salana.co.th เผยแพร่เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562

ทาง https://www.salana.co.th/blog3-detail.php?id=18


- ท้าวทอง เสียมหลอ. (2535, สิงหาคม). ความเป็นมาของตะเกียบ. ศิลปวัฒนธรรม, 13(10), 102-103.


ขอบคุณเพลงนำรายการ

เพลง ตรุษจีน

เผยแพร่โดย คุณพระช่วย เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2019

ทาง https://youtu.be/ApSLnexM4L0



---

Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message

Further episodes of SNC Library Podcast

Further podcasts by Sanamchandra Palace Library

Website of Sanamchandra Palace Library